เกี่ยวกับการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัย

การวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยคาโกชิม่าและมหาวิทยาลัยคิวชู

สถาบันวิจัยของเราทำการทดลองและวิจัยร่วมกับ มหาวิทยาลัยคาโกชิมะ และมหาวิทยาลัยคิวชูเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ต้านมะเร็งและประสิทธิภาพอื่นๆ ของฟูคอยแดน และแบ่งปันผลการวิจัยและข้อมูลร่วมกัน

鹿児島大学
九州大学

[เนื้อหาการวิจัยหลัก]
・ผลสัมฤทธิ์ในการยับยั้งมะเร็งของอาหารผสมฟูคอยแดน: การทดลองกับสัตว์และการใช้งานทางคลินิก
・ผลสัมฤทธิ์ในการยับยั้งมะเร็งของอาหารผสมฟูคอยแดน
・อาหารผสมฟูคอยแดนยับยั้งโรคอ้วน ยับยั้งน้ำตาลในเลือดสูง การออกฤทธิ์ต้านมะเร็ง และเพิ่มการออกฤทธิ์ของนักฆ่าตามธรรมชาติ (NK)

ก่อตั้งหลักสูตรพิเศษ "การวิเคราะห์การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของอาหาร" ( [เดิม]การวิเคราะห์พอลิแซ็กคาไรด์เชิงฟังก์ชันการทำงาน) นิติบุคคลมหาวิทยาลัยรัฐ สถาบันวิจัยเกษตรศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคิวชู

ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะรัฐมนตรี สถาบันวิจัยฟูคอยแดน NPO ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องโดยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ"ฟูคอยแดน" ซึ่งเป็นโพลีแซ็กคาไรด์โมเลกุลสูงที่สกัดจากสาหร่ายทะเล (สาหร่ายสีน้ำตาล) ซึ่งว่ากันว่าเป็นส่วนผสมที่กระตุ้นพลังการรักษาตามธรรมชาติ (ภูมิคุ้มกัน)ให้กับประชาชนในวงกว้าง โดยมีเป้าหมายเพื่อการใช้ชีวิตที่มีสุขภาพดีและสุขสบายผ่านพฤติกรรมการบริโภค
ในเดือนเมษายน ปี 2016 ร่วมกับบริษัท Ventuno Co., Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทสมาชิกของสถาบันตัดสินใจเปิดหลักสูตร "การวิเคราะห์การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของอาหาร" ( [เดิม]การวิเคราะห์พอลิแซ็กคาไรด์เชิงฟังก์ชันการทำงาน)"ที่ นิติบุคคลมหาวิทยาลัยรัฐ สถาบันวิจัยเกษตรศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคิวชู
จากโอกาสนี้ จึงวางนโยบายมุ่งมั่นการสร้างนักกวิจัยรุ่นใหม่ ไปพร้อมกับการวิจัยและเพิ่มการตระหนักรู้เกี่ยวกับฟูคอยแดนและโพลีแซ็กคาไรด์เชิงฟังก์ชันขึ้นมาอีกขั้น

1. โครงร่างของหลักสูตร
(1) สถานที่: ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาควิชาวิศวกรรมเคมีอาหาร สถาบันวิจัยเกษตรศาสตร​ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยคิวชู
(6-10-1 ฮาโกซากิ, ฮิกาชิ-คุ, ฟุกุโอกะ 812-8581)
(2) ชื่อหลักสูตร: “หลักสูตรการวิเคราะห์โพลีแซ็กคาไรด์เชิงหน้าที่”
(3) ผู้สอน:
รองศาสตราจารย์ โยชิยูกิ มิยาซากิ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะเกษตรศาสตร์
ชีวประวัติ: เข้าร่วมการวิจัยฟังก์ชันด้านอาหารที่กสถาบันวิจัยเกษตรศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคิวชู และได้รับปริญญาเอกในปี 2003 หลังจากนั้น ทำหน้าที่เป็นนักวิจัยที่คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยคิวชู และเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยซากะ ซึ่งมีส่วนร่วมในการวิจัยขั้นพื้นฐานด้านภูมิคุ้มกันวิทยา ในเดือนมกราคม 2010 รับตำแหน่งหัวหน้านักวิจัยของสถาบันวิจัยฟูคอยแดน NPO และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันตั้งแต่เดือนสิงหาคมของปีเดียวกันจนถึงเดือนกันยายน 2014 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2014 ดำรงตำแหน่งนักวิจัยเชิงวิชาการที่ สถาบันวิจัยเกษตรศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคิวชู และตั้งแต่เดือนเมษายน 2016 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองศาสตราจารย์ใน "หลักสูตรการวิเคราะห์โพลีแซ็กคาไรด์เชิงฟังก์ชันการทำงาน"
(4) ระยะเวลาทำหลักสูตร: ตั้งแต่ 1 เมษายน 2016 กำหนดปรับปรุงหลักสูตรทุก 5ปี
(5) ผลการวิจัยที่คาดหวัง:
・การพัฒนาเทคโนโลยีการวิเคราะห์ใหม่สำหรับการวิเคราะห์เชิงปริมาณ การวิเคราะห์โครงสร้าง และการวัดการกระจายตัวทางชีวภาพของโพลีแซ็กคาไรด์
・การวิจัยเชิงวิชาการเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพและอธิบายกลไกการออกฤทธิ์ของโพลีแซ็กคาไรด์เชิงฟังก์ชันซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันและรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต โรคภูมิแพ้ โรคติดเชื้อ มะเร็ง เป็นต้น
・การวิเคราะห์วัตถุดิบอาหารที่มีโพลีแซ็กคาไรด์เชิงฟังก์ชัน การส่งเสริมการวิจัยขั้นพื้นฐานและทางคลินิก และการเผยแพร่ข้อมูล
・สร้างทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นเลิศในการมีส่วนร่วมในการวิจัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหารในระดับแนวหน้า
ด้วยการมุ่งสู่เป้าหมายโดยมุ่งเน้นการดำเนินการตามรายการข้างต้นผ่านการวิจัยด้านโพลีแซ็กคาไรด์ที่มีอยู่ในอาหาร การพัฒนาการวิเคราะห์อาหารและการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เชิงฟังก์ชันด้านอาหาร ตลอดจนปรับปรุงคุณภาพชีวิตและสร้างความยั่งยืนด้านสุขภาพของประชาชนในประเทศ

2. บทบาทของสถาบันของเรา
(1) ร่วมกันดำเนินการวิจัยหลักสูตร
(2) ให้ความรู้แก่ประชาชนอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับผลการวิจัย

องค์กรเราทำการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับ "ฟูคอยแดน" ซึ่งมีคำอธิบายฟังก์ชันการทำงานด้านสรีรวิทยาที่หลากหลายอย่างละเอียดและชัดเจน เช่น "การสัมฤทธิ์ผลของการต้านมะเร็ง", "การสัมฤทธิ์ผลในการลดคอเลสเตอรอล", "การสัมฤทธิ์ผลในการลดความดันโลหิต" "การสัมฤทธิ์ผลในการต้านไวรัส" เป็นต้น