เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์การลดผลข้างเคียงของการรักษาด้วยยาต้านมะเร็ง
การตรวจสอบผลสัมฤทธิ์การบรรเทาผลข้างเคียงของการรักษาด้วยยาต้านมะเร็ง
ยาต้านมะเร็งเป็นชื่อทั่วไปสำหรับยาที่มีความสามารถในการฆ่าเซลล์มะเร็งโดยถูกนำมาใช้หลายวัตถุประสงค์ เช่น ใช้เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งและมีเป้าหมายในการรักษาให้หายขาด เพื่อลดขนาดของตำแหน่งเกิดโรคโดยให้ยาก่อนการผ่าตัดเพื่อง่ายในการกำจัดเนื้องอก และเพื่อป้องกันการแพร่กระจายและการกลับมาเป็นซ้ำหลังการผ่าตัด ยาต้านมะเร็งมีหลายประเภทที่ให้ผลแตกต่างกัน แต่ยาต้านมะเร็งเกือบทั้งหมดมีผลข้างเคียง เนื่องจากยาต้านมะเร็งไม่เพียงออกฤทธิ์กับเซลล์มะเร็งเท่านั้น แต่ยังออกฤทธิ์ต่อเซลล์ปกติด้วย เซลล์ภูมิคุ้มกันก็ยังถูกโจมตีโดยยาต้านมะเร็ง และระบบภูมิคุ้มกันจะอ่อนแอลงเมื่อซ่อมแซมอวัยวะที่ถูกทำลายโดยยาต้านมะเร็ง ภูมิคุ้มกันที่ลดลงเป็นหัวใจสำคัญของผลข้างเคียง ดังนั้นหากสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันที่ลดลงเมื่อใช้ยาต้านมะเร็งได้ก็จะนำไปสู่การบรรเทาผลข้างเคียงของยาต้านมะเร็งได้
ทำการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของฟุคอยแดน มิกซ์ เอจี ต่อการบรรเทาผลข้างเคียงของการรักษาด้วยยาต้านมะเร็ง โดยการใช้หนูทดลองแบบจำลองการรักษาด้วยยาต้านมะเร็ง
・วิธีการทดลอง
สร้างแบบจำลองจากหนูในการรักษาด้วยยาต้านมะเร็งโดยกระตุ้นการเกิดผลข้างเคียง (การกดภูมิคุ้มกัน) โดยการให้ยาต้านมะเร็ง "ฟลูออโรยูราซิล (5-FU)" แก่หนูวันเว้นวันจำนวน 5 ครั้ง นอกจากนี้ เพื่อที่จะเข้าใจสถานะของระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่รักษา จึงเตรียมหนูที่ได้รับน้ำเกลือเคมีชีวภาพที่ไม่มี 5-FUด้วย โดยแบ่งหนูเหล่านี้ออกเป็น2กลุ่ม (รวมทั้งหมด4กลุ่ม) และให้อาหารสัตว์ปกติ (กลุ่มควบคุม) หรืออาหารที่ผสม Fucoidan Mix AG เอจี หลังจากให้อาหารทดลองเป็นเวลา 12 วันควบคู่ไปกับการให้ยาต้านมะเร็ง ทำการวัดตัวบ่งชี้ภูมิคุ้มกันต่างๆที่นำมาจากเซลล์ภูมิคุ้มกันที่เก็บตัวอย่างจากม้าม
การนำเสนอการประชุมประจำปีครั้งที่ 100 ของสมาคมภูมิคุ้มกันแห่งอเมริกา ประจำปี 2013
(IMMUNOLOGY 2013 100th Annual Meeting The American Association of Immunologists)
ผลสัมฤทธิ์ของ Fucoidan Mix AG ต่อผลข้างเคียงของการรักษาด้วยยาต้านมะเร็ง
ตัวชี้วัดหลายตัวยืนยันว่าระบบภูมิคุ้มกันซึ่งลดลงเนื่องจากการใช้ยาต้านมะเร็ง เพิ่มขึ้นโดยการให้ Fucoidan Mix AG
องค์กรเราทำการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับ "ฟูคอยแดน" ซึ่งมีคำอธิบายฟังก์ชันการทำงานด้านสรีรวิทยาที่หลากหลายอย่างละเอียดและชัดเจน เช่น "การสัมฤทธิ์ผลของการต้านมะเร็ง", "การสัมฤทธิ์ผลในการลดคอเลสเตอรอล", "การสัมฤทธิ์ผลในการลดความดันโลหิต" "การสัมฤทธิ์ผลในการต้านไวรัส" เป็นต้น