บลูคาร์บอนที่เป็นเกราะป้องกันภาวะโลกร้อน
~กุญแจสำคัญคือ “บลูคาร์บอน”~
บลูคาร์บอนและกลไกการทำงาน
“บลูคาร์บอน” คือคาร์บอนที่ถูกดูดซับและสะสมไว้ในระบบนิเวศทางทะเล เช่น สาหร่ายทะเล และถูกนิยามไว้ในรายงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ซึ่งตีพิมพ์ในปี 2009 "บลูคาร์บอน" ได้รับการนำเสนอให้เป็นตัวเลือกใหม่สำหรับมาตรการรับมือแหล่งดูดซับเช่นเดียวกับ "กรีน คาร์บอน"ซึ่งเป็นคาร์บอนที่ถูกดูดซับและจัดเก็บโดย สิ่งมีชีวิตบนบก
แหล่งดูดซึมบลูคาร์บอนหลักคือแปลงสาหร่าย (หญ้าทะเลและสาหร่ายทะเล) พื้นที่ชุ่มน้ำเค็ม เช่น ที่ลุ่มน้ำท่วมถึง และป่าชายเลน สิ่งเหล่านี้เรียกว่า "ระบบนิเวศบลูคาร์บอน"
กลไกการดูดซึมคือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศจะสลายลงสู่ทะเลและถูกสิ่งมีชีวิตในทะเลดูดซับผ่านการสังเคราะห์แสง เมื่อสิ่งมีชีวิตในทะเลตายลงจะจมลงสู่ก้นทะเลไปพร้อมกับคาร์บอนที่แข็งตัวเกาะอยู่นั้น
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา บลูคาร์บอนได้รับความสนใจเนื่องจากความสามารถในการดูดซับและระยะเวลาในการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ โดยปริมาณคาร์บอนที่พื้นดินดูดซับโดยรวมอยู่ที่ 1.9 พันล้านตัน ในขณะที่ปริมาณคาร์บอนที่ท้องทะเลดูดซับโดยรวมอยู่ที่ 2.9 พันล้านตัน หรือประมาณ 1.5 เท่าของพื้นดิน* สำหรับระยะเวลาการกักเก็บ กล่าวกันว่าบลูคาร์บอนกักเก็บคาร์บอนได้เป็นเวลาหลายร้อยถึงหลายพันปี ในขณะที่กรีนคาร์บอนากักเก็บคาร์บอนได้นานหลายสิบปี
*ข้อความที่ตัดตอนมาจาก “Umi no Mori Blue Carbon” โดยสำนักท่าเรือ กระทรวงคมนาคมภาคพื้นดินและมหาสมุทร
การอนุรักษ์และสร้างเแปลงเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเล
สามารถ “ดูดซับและลด” CO2 ได้
พื้นที่ที่สาหร่ายทะเลเจริญเติบโตเรียกว่า "แปลงสาหร่ายทะเล'' มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "เปลแห่งท้องทะเล" ซึ่งมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศทางทะเล โดยทำหน้าที่เป็นสถานที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แหล่งวางไข่ และสถานที่หลบซ่อนของปลาและสิ่งมีชีวิตในน้ำต่างๆ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้น และความเสียหายที่เกิดจากสัตว์กินสาหร่าย (เช่น เม่นทะเล) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ส่งผลให้เกิดสภาวะ ''อิโซยาเกะ'' ที่สาหร่ายทะเลลดลงและสูญหายอย่างมากหรือหายไปทั่วประเทศญี่ปุ่น
ดังนั้นความมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์และสร้างแปลงสาหร่ายทะเลเพื่อการเพาะเลี้ยงจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
“ความเข้าใจ” ต่อสาหร่ายทะเล
เป็นที่รู้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณว่าสาหร่ายทะเลดีต่อสุขภาพ และมีรายงานว่าเส้นใยอาหารและโพลีแซ็กคาไรด์ที่มีอยู่ในสาหร่ายทะเลนั้นให้ผลดีหลายอย่าง นอกเหนือจากการนำมารับประทานเป็นอาหารแล้ว ส่วนประกอบต่างๆ เช่น กรดอัลจินิก คาราจีแนน และวุ้นยังถูกนำมาใช้ในหลากหลายวงการ ทั้งทางการแพทย์และอุตสาหกรรม มาทำความเข้าใจเรื่องสาหร่ายทะเลให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นและเริ่มรับประทานกันดีกว่า ผลจากการรับประทานอย่างแพร่หลายจะทำให้การเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเลเพิ่มมากขึ้น และะนำไปสู่การอนุรักษ์และสร้างแปลงสาหร่ายทะเล ที่มีส่วนทำให้เกิด "บลูคาร์บอน" อีกด้วย
“เพิ่มความตระหนักและส่งเสริมการใช้” ฟูคอยแดน
สาหร่ายทะเล 1 กิโลกรัมสามารถสกัดฟูคอยแดนได้เพียงประมาณ 10 กรัมเท่านั้น การทำฟูคอยแดนต้องใช้สาหร่ายจำนวนมาก ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้หากปราศจากการเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเล กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การเพิ่มขึ้นของการเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเลจะส่งผลต่อการส่งเสริมบลูคาร์บอน และมีส่วนช่วยในการรับมือกับภาวะโลกร้อน
เรามีฐานะเป็นผู้ทำการวิจัยเกี่ยวกับฟูคอยแดน และเราเชื่อว่า "การผลิต" และ"การบริโภค" ฟูคอยแดนเป็นความคิดริเริ่มที่ยอดเยี่ยมในมุมมองของ SDGs เช่นกัน จึงเป็นความรับผิดชอบของเราที่จะเผยแพร่เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของฟูคอยแดน ซึ่งมีส่วนช่วยในการรักษาสุขภาพและชีวิตที่สะดวกสบายของผู้คน และเพื่อเพิ่มการบริโภคฟูคอยแดนมากยิ่งขึ้น