การทำงานของลำไส้

ผลสัมฤทธ์ -ประสิทธิภาพ 3ประการของฟูคอยแดน

ให้ฟูคอยแดนช่วยการทำงานของลำไส้!
ดูแลร่างกายให้สวยงามและมีสุขภาพดีจากภายใน

ฟูคอยแดนเป็นส่วนประกอบในเมือกของสาหร่ายสีน้ำตาล (สาหร่ายทะเลที่มีสีน้ำตาล) เช่น โมซูกุ วากาเมะ และคอมบุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณฟูคอยแดนในโมซุกุกล่าวกันว่ามากกว่าสาหร่ายทะเลอื่นๆ ถึง3เท่า

แนะนำให้ใช้ฟูคอยแดนซึ่งเป็นใยอาหารที่ละลายน้ำได้สำหรับการทำงานของลำไส้ เนื่องจากฟูคอยแดนสามารถเข้าถึงลำไส้ใหญ่โดยแทบจะไม่ถูกย่อยหรือดูดซึมในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก และจะกลายเป็นอาหารของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ใหญ่และถูกขับออกมา จึงควบคุมสภาพแวดล้อมในลำไส้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การทำงานในลำไส้หมายถึงการปรับสภาพแวดล้อมในลำไส้ (สถาพFloraในลำไส้) โดยการทบทวนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย สิ่งสำคัญของการทำงานคือต้องเพิ่มจำนวนแบคทีเรียในลำไส้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหรือที่เรียกว่าแบคทีเรียดี และเพื่อรักษาสมดุลของFloraในลำไส้ให้ดีที่สุด (แบคทีเรียดี: แบคทีเรียที่ไม่ดี: แบคทีเรียฉวยโอกาส = 2:1:7 )

ผลจากการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในลำไส้ จะทำให้สามารถขจัดปัญหาความงาม เช่น ผิวหยาบกร้าน สิว และความหมองคล้ำ และช่วยให้เกิดการผลิตเซโรโทนิน ฮอร์โมนแห่งความสุข และสร้างเสริมความงามและสุขภาพจากภายใน

ฟูคอยแดน = พลังการทำงานของลำไส้

เพิ่มแบคทีเรียชนิดดี
ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมในลำไส้ที่ดีและยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ไม่ดีที่ทำให้เกิดผิวหนังหยาบกร้านและสิว
บรรเทาอาการท้องผูก
ฟูคอยแดนกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้และกำจัดของเสียที่สะสม จึงส่งผลให้มีผิวสวยและร่างกายอ้วนได้ยาก
ผลสัมฤทธิ์การดีท็อกซ์
คาดหวังได้ว่าฟูคอยแดนสามารถดีท็อกซ์ได้อย่างได้ผลโดยการกำจัดสารพิษที่สะสมอยู่ในร่างกายออกมา
ปรับสุขภาพจิต
การปรับสภาพแวดล้อมในลำไส้ที่ดีสามารถช่วยลดความเครียดและบรรเทาอาการซึมเศร้าได้

มาทานฟูคอยแดนกันเถอะ

เริ่มต้นสุขภาพลำไส้ของคุณด้วยการผสมผสานฟูคอยแดนในแบบที่เหมาะกับคุณ เช่น อาหารเสริมหรือเครื่องดื่ม! การเพิ่มการดูแลเอาใจใส่ประจำวันมีประโยชน์ในการสร้างร่างกายที่แข็งแรงจากภายใน

ดูบทความนี้

โยชิยูกิ มิยาซากิ
รองศาสตราจารย์ สำนักวิจัยเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคิวชู
คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

■ประวัติ/ผลงาน

●2003
มีส่วนร่วมในการวิจัยฟังก์ชันการทำงานของอาหารที่ สถาบันวิจัยเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย แห่งมหาวิทยาลัยคิวชู และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก นักวิจัยที่คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยคิวชู และผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยซากะ ซึ่งมีส่วนร่วมในการวิจัยภูมิคุ้มกันขั้นพื้นฐานหลังจบหลักสูตรปริญญาเอก
●2010
มกราคม: ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้านักวิจัยของสถาบันวิจัยฟูคอยแดน NPO
สิงหาคม: ประธานสถาบันจนถึงเดือนกันยายน 2014
●2014
ตุลาคม : นักวิจัยเชิงวิชาการสถาบันวิจัยเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคิวชู
●2016
เมษายน: ได้รับแต่งตั้งเเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์รับผิดชอบ "หลักสูตรให้เปล่าในการวิเคราะห์ด้านการทำงานของโพลีแซ็กคาไรด์"
●2021
เมษายน: ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ของ "หลักสูตรให้เปล่าการวิเคราะห์ฟังก์ชั่นการด้านการทำงานของภูมิคุ้มกันทางอาหาร"